วันพฤหัสบดี, 10 ตุลาคม 2567

เปิด Insight แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แอปไหน ? ครองใจนักชอปไทย

ในยุคดิจิทัลที่การชอปปิงออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคชาวไทย จากผลสำรวจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยปี 2566 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ระบุว่า E-Commerce ในกลุ่ม B2C (Business to Customer) ครองแชมป์สัดส่วนมูลค่าอีคอมเมิร์ซมากที่สุด โดยช่องทางการขายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ e-Marketplace เช่น Lazada และ Shopee แต่ท่ามกลางตัวเลือกที่หลากหลาย แพลตฟอร์มใดที่ผู้บริโภคพูดถึงมากที่สุดในปัจจุบัน ?

บทความนี้จะนำเสนอผลการวิเคราะห์เสียงของผู้บริโภคจากการฟังเสียงในสังคมออนไลน์ (Social Listening) โดยบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ซึ่งใช้เครื่องมือ DXT360 ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากความคิดเห็นของนักชอปชาวไทยในช่วงวันที่ 1 สิงหาคม – 10 กันยายน 2567 เพื่อเผยให้เห็นถึงแนวโน้มการเลือกใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซล่าสุด

Shopee-Lazada แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับการพูดถึงสูงสุด (Mention)

ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย พบว่า Shopee (ช้อปปี้) และ Lazada (ลาซาด้า) เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยมที่ได้รับการพูดถึงสูงสุด โดย Shopee ได้รับการพูดถึงมากในสัดส่วน 36% Lazada 27% Temu (เทมู) 23% TikTok Shop (ติ๊กต๊อกชอป) 13% และ อื่น ๆ 1% สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมและการรับรู้ของผู้บริโภคต่อแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปัจจุบัน

Shopee และ Lazada ถือเป็นผู้นำในตลาดอีคอมเมิร์ซไทย โดยทั้งสองแพลตฟอร์มมีกลยุทธ์ที่โดดเด่นในการดึงดูดผู้ใช้ที่แตกต่างกัน Shopee เน้นการสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ ด้วยการออกแบบ UI (User Interface) ที่ใช้งานง่าย และนำเสนอฟีเจอร์นวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ Shopee ยังให้ความสำคัญกับการสร้างปฏิสัมพันธ์หรือการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีผ่านแพลตฟอร์ม

ในขณะที่ Lazada มุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มตามแนวคิด Shoppertainment โดยเฉพาะผ่านฟีเจอร์ LazLive ซึ่งเป็นการไลฟ์สตรีมที่ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สึกระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ส่งผลให้ผู้ใช้งานใช้เวลาบนแพลตฟอร์มนานขึ้นและมีแนวโน้มที่จะกลับมาใช้บริการซ้ำ

ส่องประสบการณ์ใช้แอปของนักชอปออนไลน์

Insight-E-commerce-02-Mention

จากการเก็บข้อมูลความคิดเห็นของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ถึงประสบการณ์การใช้งาน Shopee และ Lazada ผ่านเครื่องมือ DXT360 พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่า Shopee มีจุดเด่นในเรื่องการออกแบบหน้าจอผู้ใช้ (UI) ซึ่งทำให้ใช้งานง่ายทั้งการค้นหาสินค้าและการเก็บโค้ดโปรโมชั่นที่สะดวก

ในขณะที่ Lazada ผู้บริโภคมองว่า มีจุดเด่นในเรื่องราคาสินค้า โดยเฉพาะประเภทสินค้าที่มีราคาสูง หรือสินค้าที่ขายผ่าน Official Store ของแบรนด์ต่าง ๆ มักจะมีราคาสุทธิที่ถูกกว่า นอกจากนี้ Lazada ยังโดดเด่นในด้านบริการหลังการขาย ทั้งการเคลมสินค้าและการติดต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคส่วนใหญ่

ปัจจุบันตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยไม่ได้มีเพียงแค่สองเจ้ายักษ์ใหญ่ Shopee และ Lazada อีกต่อไป ที่นักชอปไทยมักเรียกกันว่า “แอปส้ม” และ “แอปฟ้า” แต่ตอนนี้มีผู้เล่นใหม่เข้ามาในตลาด นั่นคือ Temu แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหม่ที่กำลังมาแรงในหลายประเทศ และได้เริ่มขายสินค้าหลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทยเมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Temu คือ แม้จะเข้ามาขายสินค้าในไทยแล้ว แต่ Temu ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนการค้าในประเทศไทย และยังไม่มีการจัดตั้งบริษัทในไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งนำไปสู่การพูดถึงอย่างกว้างขวางบนโลกออนไลน์เป็นจำนวนมากตลอดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงเกี่ยวกับ Temu แบ่งออกเป็นหัวข้อดังนี้

  • ยังไม่จดทะเบียนการค้า ยังไม่เข้าข่ายเสียภาษีไทย : Temu เข้ามาทำตลาดในไทยโดยยังไม่มีการจดทะเบียนการค้าอย่างเป็นทางการ ซึ่งทำให้ยังไม่เข้าเงื่อนไขต้องเสียภาษีในประเทศไทย
  • ผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อย : การเข้ามาของ Temu อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยและร้านค้าปลีกของไทย เนื่องจากโมเดลการทำธุรกิจของ Temu เป็นการซื้อขายโดยตรงกับโรงงานผู้ผลิตสินค้า ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการทำราคาได้ถูกกว่าคู่แข่ง
  • คุณภาพสินค้าและราคา : เนื่องจาก Temu เพิ่งเริ่มดำเนินการในไทย จึงอัดโปรโมชันส่งฟรีทุกออเดอร์ นโยบายคืนสินค้าในทุก ๆ ออเดอร์ฟรีภายใน 90 วัน หรือสามารถเลือกรับเป็นการคืนเงินส่วนหนึ่ง โดยไม่ต้องส่งสินค้ากลับคืนได้
  • ความเชื่อมั่นในการติดตั้งแอปพลิเคชัน : ผู้ใช้หลายรายยังมีความกังวลเรื่องการเก็บข้อมูลผู้ใช้ผ่านแอปฯ และความกังวลด้านความปลอดภัย

เสียงตอบรับ Temu จากผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดียไม่ค่อยดีนัก ด้วยเหตุผลหลัก ๆ คือ Temu ยังไม่ได้จดทะเบียนการค้าในไทย และราคาสินค้าไม่ได้ถูกกว่า Shopee (แอปส้ม) และ Lazada (แอปฟ้า) อย่างที่คาดหวังไว้ ผลที่ตามมาคือ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ตัดสินใจกลับไปใช้ Shopee และ Lazada เช่นเดิม 

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือในแคมเปญ 9.9 ที่ผ่านมา Shopee ประเทศไทย สามารถทำยอดขายได้ถึง 1 พันล้านบาทภายในเวลาเพียง 18 นาที ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของแพลตฟอร์ม เช่น Shopee Live, Shopee Video และ Shopee Affiliate Program แสดงให้เห็นว่า Shopee ยังคงเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอันดับ 1 ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่นักชอปชาวไทย

TikTok Shop Social Commerce ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

Social Commerce แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมไม่แพ้กันในประเทศไทย โดยเฉพาะ TikTok Shop ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ข้อได้เปรียบของ TikTok Shop คือการที่ตัวแอปเป็นโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมอันดับต้น ๆ หากมีการทำคอนเทนต์รีวิวสินค้า หรือการไลฟ์สตรีมขายสินค้า สามารถทำได้จบในแอปเดียวโดยไม่ต้องข้ามไปแพลตฟอร์มอื่น ซึ่งจากความเห็นผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ชื่นชอบพบว่า การชอปปิงผ่าน TikTok Shop ได้ส่วนลดสูงกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ โดยเฉพาะการซื้อสินค้าผ่านการไลฟ์สตรีมที่จะได้รับโค้ดส่วนลดพิเศษ โดยไม่ต้องซื้อสินค้าขั้นต่ำตามที่กำหนด ทำให้ประหยัดได้มากกว่าปกติ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ TikTok Shop ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์หา Insight รวบรวมข้อมูลจาก DXT360 (Social Listening and Media Monitoring Platform) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่าง สิงหาคม – 10 กันยายน 2567

เกี่ยวกับ DXT360

DXT360 เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารได้ทั้งจากโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ สื่อบรอดคาสท์ และสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเสียงของผู้บริโภค (Consumer Voices) คอนเทนต์จาก Influencers และ KOLs ไปจนถึงข่าวจากสื่อมวลชน ที่รวบรวมเข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกัน มีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ Dashboard ที่สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้ใช้งานแต่ละราย (Customizable Dashboard) จึงทำให้เข้าใจและเห็น Insight ในประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยให้เห็นทิศทางการสื่อสารของแบรนด์ต่าง ๆ สามารถนำมาต่อยอดเพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารขององค์กรได้

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
11.11 นี้ Maybelline จับมือ Lazada เตรียมพาท่องโลก Chromaverse สุดล้ำเป็นครั้งแรก
กรมสรรพากรลงนามบันทึกข้อตกลงกับ “Shopee” ให้เป็นหน่วยรับชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต ช่วยให้ผู้เสียภาษีสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดอบรม “Happy Money Trainer” สร้างสรรค์สื่อการเงินการลงทุนบนโลก TikTok”
TikTok เผยคู่มือปลดล็อคความสำเร็จแคมเปญ Mega Sales สำหรับแบรนด์ SMEs และร้านค้าออนไลน์
ช้อปปี้ผนึกภาครัฐสร้างโลกดิจิทัลปลอดภัย มั่นใจซื้อ-ขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
ส่งใจเชียร์ไทย ดังไกลทั่วอาเซียน TikTok จับมือการกีฬาแห่งประเทศไทย ดันคอนเทนต์กีฬา ประเดิมไฮไลท์ประชิดติดขอบสนามซีเกมส์