วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

กพช. เห็นชอบให้เอาราคาน้ำมันมาผสมก๊าซฯ ผลิตไฟฟ้า

10 มี.ค. 2022
360

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณและการดำเนินการเกี่ยวกับราคาก๊าซธรรมชาติภายใต้การกำกับของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) (Energy Pool Price) ในช่วงสถานการณ์ราคาพลังงานที่มีความผันผวน โดยมีหลักการนำต้นทุนค่าใช้จ่ายน้ำมันเตา น้ำมันดีเซล และก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) นำเข้าของกลุ่ม Regulated Market มาเฉลี่ยกับต้นทุนก๊าซธรรมชาติใน Pool Gas เพื่อให้ต้นทุนการผลิตของภาคไฟฟ้า และภาคอุตสาหกรรมในกลุ่ม Regulated Market อยู่ในแนวทางปฏิบัติเดียวกัน ซึ่งมีการใช้เชื้อเพลิงคิดเป็นหน่วยราคา/ความร้อน (บาท/MMBTU) และช่วยลดภาระค่า Ft ที่ส่งผลถึงผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง

ในช่วงนี้สถานการณ์ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นสูงมาก จากปัจจัยความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครน และราคา LNG ในตลาดจรมีราคาสูงขึ้นมาก ซึ่งการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยมีการใช้ก๊าซฯ เป็นเชื้อเพลิงกว่า 60% ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาก จึงมีแผนให้โรงไฟฟ้าบางโรงใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลมาผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพื่อลดปริมาณการใช้ก๊าซฯ ที่มีราคาแพงลดลง จึงต้องนำน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา ในส่วนที่นำมาใช้ในโรงไฟฟ้าเข้ามาคำนวณร่วมกับ Pool Gas ด้วยเพื่อความเป็นธรรมกับรายที่นำน้ำมันมาผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ภาพรวมการผลิตไฟฟ้ามีต้นทุนลดลงน้อยกว่าการใช้ก๊าซฯ เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด

การใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลผลิตไฟฟ้า จะดำเนินการในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงเกินกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หากราคาลดลงต่ำกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ก็จะกลับมาเหมือนเดิม

กพช. ยังได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการก่อสร้างคลังจัดเก็บและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Terminal) แห่งที่ 2 จังหวัดระยอง (T-2) ในแผนระบบรับส่งและโครงสร้างพื้นฐานก๊าซฯ เพื่อความมั่นคง ที่มอบหมายให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกันดำเนินการ จากเดิมวงเงิน 38,500 ล้านบาท เป็นวงเงินไม่เกิน 41,400 ล้านบาท เพื่อเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จเร็วกว่าแผนเดิมจากเดือนพฤศจิกายน 2565 มาเป็นเดือนพฤษภาคม 2565 ทำให้สามารถรองรับการนำเข้า LNG ได้เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านตันต่อปี เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนก๊าซฯ จากการเปลี่ยนผ่านผู้รับสัมปทานแหล่งก๊าซฯ เอราวัณ รวมถึงความเสี่ยงจากสถานการณ์ในประเทศเมียนมาร์ โดยที่ประชุมได้ให้ กกพ. พิจารณาการส่งผ่านภาระการลงทุน โครงการที่เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่ออัตราค่าบริการไฟฟ้าและค่าบริการก๊าซฯ ในอนาคต ไปยังผู้ใช้พลังงานได้เท่าที่จำเป็นและสอดคล้องกับเหตุผลของการปรับเพิ่มวงเงินลงทุน

กพช. เห็นชอบให้มีการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนนอกเหนือจากกลุ่มสัญญาเดิม จากผู้ผลิตไฟฟ้าประเภทชีวมวลหรืออื่น ๆ นอกจากชีวมวลจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟผ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง สามารถรองรับได้ โดยเป็นการรับซื้อปีต่อปีไม่เกิน 2 ปี ในรูปแบบสัญญา Non-Firm ที่กรอบราคารับซื้อไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน Avoided cost และมอบหมายให้ กกพ. รับไปดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้า โดยให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) บริหารให้เป็นไปตามนโยบายต่อไป

กพช. เห็นชอบอัตราค่าไฟฟ้าของโครงการหลวงพระบาง 2.8432 บาท/หน่วย กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบ (COD) เดือนมกราคม 2573 และโครงการปากแบง 2.9179 บาท/หน่วย กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบ (COD) เดือนมกราคม 2576 โดยอัตราค่าไฟฟ้าค่าไฟฟ้าดังกล่าวจะคงที่ตลอดอายุสัญญา และได้มอบหมายให้ กฟผ. ลงนามในร่าง Tariff MOU ทั้งสองโครงการ

ที่ประชุมยังได้เห็นชอบอัตราค่า Wheeling Charge ของไทยและหลักการร่างสัญญา Energy Wheeling Agreement (EWA) โครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปประเทศสิงคโปร์ ผ่านระบบส่งของประเทศไทยและมาเลเซีย (LTMS – PIP) ในอัตราเท่ากับ 3.1584 เซนต์สหรัฐฯ ต่อหน่วย ระยะเวลาโครงการ 2 ปี

กพช. มีมติเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ประกอบด้วย 1.โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย (โซลาร์ภาคประชาชน) ให้มีการรับซื้อต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป โดยกำหนดเป้าหมายการรับซื้อปีละ 10 เมกะวัตต์ ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินที่จำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบ 2.20 บาทต่อหน่วย และระยะเวลารับซื้อ 10 ปี และ 2.โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับกลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา โรงพยาบาล และสูบน้ำเพื่อการเกษตร ปี 2565 กำหนดเป้าหมายการรับซื้อ 10 เมกะวัตต์ ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินที่จำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบ 1 บาทต่อหน่วย และระยะเวลารับซื้อ 10 ปี

และเนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกยังมีความผันผวนและมีราคาสูง ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ ประกอบกับสภาพทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ตลอดจนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินการขยายกรอบวงเงินกู้ยืมเงิน 20,000 ล้านบาท ตามมาตรา 26 วรรคสอง และปรับกลยุทธ์การถอนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (Exit Strategy) ให้มีความยืดหยุ่นขึ้น กพช. จึงมีมติเห็นชอบทบทวนแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2563-2567 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 เพื่อรองรับฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีพ เนื่องจากความผันผวนด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
กกพ. เตรียมฟันธงค่าไฟฟ้างวด พ.ค.-ส.ค. 2567 ชี้ราคา 4.18 บาทต่อหน่วย จะเฉลี่ยใช้ทั้งปี 2567
กระทรวงพลังงาน ออกประกาศให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งข้อมูลต้นทุนน้ำมัน ป้องกันการค้ากำไรเกินควร มุ่งเน้นความเป็นธรรมและความมั่นคงทางพลังงานกระทรวงพลังงาน
มั่นใจ ราคาค่าไฟช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค.ไม่สูงกว่าปัจจุบันหลังลงพื้นที่ตรวจการผลิตก๊าซกลางอ่าวไทย พร้อมหารือ กฟผ.ให้ช่วยกันดูแล ปชช.เต็มที่ ไม่ให้มีภาระค่าไฟฟ้ามากเกินไป
กกพ. เผยต้นทุนค่าไฟฟ้างวด พ.ค.-ส.ค.67 ลดลง ส่งผลค่าไฟลดลง
บอร์ด กฟผ. ยืนยันเสนอชื่อ “นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์” เข้ารับตำแหน่ง ผู้ว่าการ กฟผ.
พีระพันธุ์ เตรียม รื้อ ลด ปลด สร้างวางเป้า ปี 67 ราคาพลังงานต้อง “มั่นคง เป็นธรรม ยั่งยืน”