วันพฤหัสบดี, 18 เมษายน 2567

ขยะขอนแก่น ตกค้างเกือบ 8 แสนตัน และรับขยะใหม่วันละกว่า 500 ตัน นายกเทศฯเร่งแก้ปัญหา แต่สภาเทศบาลฯไม่อนุมัติ

ขยะขอนแก่น ตกค้างเกือบ 8 แสนตัน และรับขยะใหม่วันละกว่า 500 ตัน นายกเทศฯเร่งแก้ปัญหา แต่สภาเทศบาลฯไม่อนุมัติ หลังจังหวัดเสนอแผนตั้งโรงกำจัดขยะไฟฟ้าแห่งที่ 2 วอนทุกฝ่ายคุยกันเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนและคืนความสุขให้กับคนโนนท่อน เพราะทุกอย่างทำตามขั้นตอนของกฎหมายและนโยบายของรัฐบาลที่ชัดเจน

เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 21 ธ.ค.2564 ที่โรงกำจัดขยะเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ.คำบอน ต.โนนท่อน อ.เมือง จ.ขอนแก่น นางสุธาวัลย์ ริมผดี นายกเทศมนตรีตำบลโนนท่อน หรือ ทต.พร้อมด้วย นายประสิทธิ์ เดชอักษร รอง นายก ทต.โนนท่อน และนายโกวิทย์ อ่อนฮุย ปลัด ทต.โนนท่อน พาสื่อมวลชนลงพื้นที่ตรวจสอบปริมาณขยะที่ทำการจัดเก็บและกำจัดในความรับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น ที่ยังคงคงค้างอยู่ภายในบ่อยกำจัดขยะแห่งนี้รวมกว่า 780,000 ตัน ในขณะที่การกำจัดขยะด้วยระบบเผาและแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้าสามารถดำเนินการได้วันละ 400-450 ตัน ต่อวันเท่านั้น โดยมีขยะใหม่จากพื้นที่ต่างๆเข้ามาที่บ่อกำจัดขยะแห่งนี้วันละประมาณ 500 ตัน หลังจากมติที่ประชุมสภาเทศบาล ทต.โนนท่อน เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมามีมติไม่อนุมัติจัดทำโครงการจัดตั้งโรงงานแปรรูปขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า ตามที่จังหวัดได้กำหนดไว้

นางสุธาวัลย์ ริมผดี นายก ทต.โนนท่อน กล่าวว่า มติที่ประชุม จ.ขอนแก่นได้กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาขยะคงค้างที่บ่อกำจัดขยะของเทศบาลนครขอนแก่น ที่ตั้งอยู่ที่ เขต ต.โนนท่อนแห่งนี้ โดยกำหนดให้เทศบาลนครขอนแก่น ดำเนินการกำจัดขยะคงค้างที่มีอยู่รมกว่า 780,000 ตัน โดยให้กำจัดขยะด้วยระบบโรงงานแปรรูปขยะเป็นพลังงานไฟฟ้าแห่งที่ 1 ที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าบ่อกำจัดขยะ ซึ่งสามารถกำจัดขยะได้ที่ประมาณวันละ 400-450 ตัวต่อวัน ในขณะที่ปริมาณขยะใหม่ที่เข้ามาที่บ่อกำจัดขยะแห่งนี้อยู่ที่วันละ 500 ตัวต่อวัน ดังนั้นที่ประชุมร่วมระดับจังหวัดจงได้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะคงค้างและแก้ไขปัญหาพื้นที่ ต.โนนท่อน ในการกำจัดขยะ ทั้งคงค้างเก้าและขยะใหม่ที่ต้องรับแบบรายวัน ในการกำหนดแนวทางการจัดตั้งโรงงานแปรรูปขยะเป็นพลังงานไฟฟ้าแห่งที่ 2 ขึ้นในความรับผิดชอบของ ทต.โนนท่อน ซึ่งเมื่อมติที่ประชุมดังกล่าวออกมา ซึ่งเป็นแผนงานที่เป็นไปตามนโยบายรัฐ เทศบาลฯจึงได้ดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนของกฎหมาย ด้วยการร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับ อปท.ในกลุ่มที่ 1 รวม อปท.ทั้งหมดกว่า 40 แห่ง ในการเห็นชอบและมอบหมายให้ ทต.โนนท่อน ดำเนินการตามนโยบายของจังหวัดและนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนแผนงาน โดยจะต้องนำเสนอต่อที่ปะชุมสภาฯได้รับทราบและผ่านความเห็นชอบ แต่ในการประชุมสภาฯ พบว่ามติสภาไม่ผ่านด้วยคะแนน 6 ต่อ 5

“ ในการจัดการขยะของขอนแก่นได้แบ่งกลุ่มการบริหารจัดการขยะทั้งหมด 5 กลุ่ม โดย ต.โนนท่อน อยู่ในกลุ่มที่ 1ที่มีเทศบาลนครขอนแก่น เป็นผู้รับดำเนินการ โดยใช้เนื้อที่ ในเขต ต.โนนท่อน รวม 90 ไร่ในการกำจัดขยะให้กับ อปท. ทั้งหมด 40 แห่งในเขต อ.เมือง,บ้านฝาง,พระยืน และ อ.อุบลรัตน์ โดยขณะนี้มีขยะคงค้างที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนของการไถกลบ รวมกว่า 780,000 ตัน โดยการกำจัดขยะด้วยโรงงานแปรรูปขยะเป็นพลังงานไฟฟ้าแห่งที่ 1 ในความรับผิดชอบของ ทน.ขอนแก่น สามารถดำเนินการได้วันละประมาณ 400-450 ตันต่อวัน ในขณะที่ขยะใหม่ที่เข้ามาที่บ่กำจัดขยะแห่งนี้วันละประมาณ 500 ตัน ดังนั้นที่ประชุมระดับจังหวัดจึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งขยะเก่าและขยะใหม่ โดยให้ความสำคัญกับคนโนนท่อน ที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหาขยะให้หมดไปจากพื้นที่กำจัดขยะเดิม ให้กลายกลับมาเป็นพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ของชุมชนอีกครั้ง รวมทั้งการรองรับขยะใหม่ที่เกิดขึ้นทุกวัน จึงเสนอแนวทางในการตั้งโรงงานแห่งที่ 2 ขึ้นและให้อยู่ในความดูแลของ ทต.โนนท่อน และขณะนี้เข้าสู่การดำเนินการก้าวแรก คือการนำเสนอต่อที่ประชุมสภาเทศบาลฯ โดยในการประชุม ผู้แทนระดับจังหวัดได้มานำเสนอต่อที่ประชุม ในระยะที่ 1 แต่ที่ประชุมไม่เห็นชอบ ด้วยคะแนน 6 ต่อ 5 ทำให้ขณะนี้เทศบาลฯจึงรอรายงานเอกสารวาระการประชุมฉบับสมบูรณ์เพื่อสรุปผลการประชุมให้กับจังหวัดได้รับทราบและดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆต่อไป”

นายก ทต.โนนท่อน กล่าวต่ออีกว่า เทศบาลฯคำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่และการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนให้กับชุมชน ที่เป็นหัวใจหลักของการบริหารงานของคณะผู้บริหารชุดปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อก้าวแรกไม่ผ่าน จากมติที่ประชุมสภาฯ ก็จะต้องรายงานให้กับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อกำหนดแนวทางการทำงานในด้านต่างๆต่อไป ซึ่งขณะนี้เทศบาลฯยังไม่ได้ได้ดำเนินการใดๆเพราะก้าวแรกยังไม่ผ่าน และหากผ่านก้าวแรกเมื่อที่ประชุมสภาฯเห็นชอบและมีมติผ่านตามแผนงานที่เทศบาลฯกำหนด ตามนโยบายของรัฐที่กำหนดไว้ ก็จะต้องดำเนินการในขั้นตอนต่างๆอีก 10ขั้นตอนหลักและยังคงมีรายละเอียดปลีกย่อยในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งการเปิดเวทีประชาคม,การสำรวจด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA รวมไปถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างว่าโรงงานแปรรูปขยะแห่งที่ 1 ที่ตั้งขึ้นนั้นใช้เวลาในการดำเนินงานนานกว่า 5 ปี จึงสามารถที่จะเปิดระบบกำจัดขยะได้ แต่แห่งที่ 2 นี้ เทศบาลฯดำเนินการตามขั้นตอนของรัฐในด้านต่างๆอย่างครบถ้วน และเป็นไปตามระเบียบและกรอบของกฎหมาย โดยยังไม่ได้ดำเนินการใดๆไปตามที่หลายฝ่ายเข้าใจ ซึ่งเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นเมื่อการสรุปรายงานจากที่ประชุมสภาฯ เสนอต่อจังหวัดได้รับทราบแล้ว จังหวัดจะมีแผนการดำเนินงานใดๆต่อไป เทศบาลฯก็พร้อมจะดำเนินงานตามระเบียบและข้อบังคับ และหารือร่วมกันกับทุก่ายทั้งชุมชน,ฝ่ายปกครอง,ฝ่ายสภาฯ รวมไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนต่อไป

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DNk79R.jpg 6TyuFJ.jpg sAyptI.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เมืองไป่เซ่อผลักดันอุตสาหกรรมมะม่วง เปิดเส้นทางอันสดใสกรุยทางสู่การฟื้นฟูชนบท
มณฑลส่านซีประกอบพิธีบูชาจักรพรรดิเหลืองเนื่องในเทศกาลเช็งเม้งประจำปี 2567
สำนักบริการวิชาการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
มข. และ ธนาคารออมสิน จัดเวทีนำเสนอโครงการย่อย ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นปี 67 พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน
โก โฮลเซลล์ เดินหน้าขยายไม่หยุด เปิดสาขาล่าสุด “รังสิต”  พลิกทำเลทอง สู่ศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบอาหารขนาดใหญ่ ปลุกกำลังซื้อผู้ประกอบการคึกคัก
FWD ประกันชีวิต เสริมกำลังทีมขาย  ชูเทคโนโลยีดิจิทัล  Agency   Discovery Platform และ FWD CUBE Application นำทัพเพิ่มยอดตัวแทนเติบโต  ดึง CI Modular Series ขยายตลาดประกันสุขภาพ บุกถิ่นเมืองหมอแคนแดนอีสาน