วันอาทิตย์, 26 มกราคม 2568

พัฒนาฝีมือแรงงานร้อยเอ็ด บูรนาการร่วมกับ แอโร กรุ๊ป (1992) เปิดหลักสูตรอาชีพเสริม ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยาน ซึ่งไม่มีนักบิน (Drone) เพื่อการเกษตร

 

   วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. ที่ หอประชุมอ่างเก็บน้ำธวัชชัย ต.มะอึ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด  แอโร กรุ๊ป (1992) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานร้อยเอ็ด จัดอบรมหลักสูตรอาชีพเสริม สาขา “ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยาน ซึ่งไม่มีนักบิน (Drone)เพื่อการเกษตร” ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะอาชีพผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร ให้กับเกษตรกรผู้สนใจในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และพื้นที่ใกล้เคียง ประธานเปิดงานโดย นายชนาส ชัชวาลวงศ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยนายเอกภาพพลซื่อ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน ร่วมพิธีเปิดงาน

      สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2563  กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยนายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับบริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด  โดย ดร.กฤษดา อัครพัทธยากุล กรรมการผู้จัดการ ได้ลงนามความร่วมมือโครงการพัฒนาทักษะอาชีพผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร โดยมี ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีบันทึกความร่วมมือดังกล่าวฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการ ช่วยเหลือเกษตรกรไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเกษตร ช่วยลดเวลาการทำงาน เพิ่มผลผลิต และลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีจากการฉีดพ่นโดยตรง รวมถึงเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้าง และผู้ว่างงานจากผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของไวรัสโควิด-19 ให้สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืนต่อไป

    ดร.กฤษดา อัครพัทธยากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด กล่าวว่า  จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีนาแปลงใหญ่มาก พร้อมทั้งยังมีการเริ่มนำโดรนเพื่อการเกษตรเข้ามาใช้ประมาณ 20 ลำกระทรวงที่นำร่องคือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การจัดฝึกอบรมวันนี้เป็นการบูรณาการจังหวัดที่ใกล้เคียงที่มีศักยะภาพเข้าร่วมด้วยกัน หลักสูตรนี้จึงเป็นหลักสูตรยกระดับ 18 ชั่วโมงเพื่อยกระดับแรงงานให้มีทักษะหลักสูตรจึงมีชื่อว่าพัฒนาทักษะอาชีพผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร  ปัจจุบันนี้การที่จะทำให้เกษตรมีผลผลิตที่ดีขึ้นและแก้ปัญหาเกษตรกรหลายๆเรื่องหลักสูตรนี้จึงเริ่มจากการที่คิดสนองนโยบายภาครัฐในเรื่องของเกษตร 4.0 ซึ่งทำให้ smart ความหมายของ smart ก็คือความแม่นยำขณะเดียวกันโครงการนี้ก็จะช่วยลดต้นทุนถือว่าการใช้อากาศยานไร้คนขับโดรนเพื่อการเกษตรทำการพ่นสารกำจัดวัชพืช, แมลงศัตรูพืช และพ่นฮอร์โมนบำรุงพืช สามารถลดเวลาลง เมื่อเทียบกับการใช้แรงงานคน 3-5 เท่า และช่วยลดปริมาณน้ำที่ใช้สำหรับการผสมสารลง 10-15 เท่า เพราะฉนั้น น้ำยาที่ออกจากโดรนพ่นยาเปรียบเสมือนหัวเชื้อ เป็นการฉีดพ่นสารจากบนลงล่าง ลมจากใบพัดจะช่วยกดน้ำยาลงสู่พืชซึ่งค่าบริการฉีดพ่นสารเคมีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ จะเท่ากับค่าจ้างแรงงานคน คือ ไร่ละประมาณ 50-70 บาท (กรณีนาข้าว) โดยโดรนขนาด 10 ลิตร 1 ลำ สามารถทำงานได้มากถึง 100 ไร่ต่อวัน คิดเป็นเงิน 5,000-7,000 บาท (กรณีที่มแบตเตอรี่มากพอ หรือเวียนชาร์ต) และสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากการเหยียบย่ำพืชในระหว่างฉีดพ่น และลดความเสี่ยงเรื่องปัญหาสุขภาพจากการสัมผัส หรือสูดดมสารเคมีของตัวเกษตรกรเอง ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างมาก

      นายชนาส ชัชวาลวงศ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า การฝึกอบรมในวันนี้เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจระหว่างภาครัฐ กับภาคเอกชน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน กับบริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด ที่ได้มุ่งมั่นดำเนินการจัดฝึกอบรม การฝึกอบรมครั้งนี้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของภาคการเกษตร อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมอาชีพ เกษตรกรรมและพัฒนาเกษตรกรให้มีความมั่นคงในอาชีพได้อย่างยั่งยืนต่อไป

    นายเอกภาพ   พลซื่อ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้มารับฟังข้อมูลในวันนี้ได้ทราบถึงประโยชน์ที่จะเพิ่มพัฒนาให้เกษตรกรได้มีผลผลิตและลดต้นทุนรวมทั้งในเรื่องของสุขภาพของร่างกายของเกษตรกรตนจึงเห็นว่าจะนำเสนอเรื่องนี้เข้าวาระการประชุม ให้ที่ปรึกษาและคณะผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้เสนอข้อคิดเห็น ซึ่งตนเล็งเห็นว่าน่าจะมีการจัดซื้อจัดจ้างมาไว้เพื่อให้บริการเกษตรกรอย่างน้อยเริ่มต้นที่ 3 ลำซึ่งเนื่องจากถ้าเกิดว่าให้เกษตรกรแต่ละรายจัดหาจัดซื้อเองก็คงเป็นปัญหาในการหาแหล่งทุน และจะไม่คุ้มกับในเรื่องของการลงทุน

    ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว มีทีมงานจากบริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด ร่วมกับวิทยากรจากกรมวิชาการเกษตร และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเป็นวิทยากร เนื้อหาการฝึกอบรมประกอบด้วย ความรู้พื้นฐาน / ความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง,การผสมสารที่ใช้ในการพ่น, การบังคับหรือปล่อยอากาศยาน การขนย้ายและเก็บรักษา, ตลอดจนการซ่อมแซม และบำรุงรักษาเบื้องต้น คาดว่าผู้ผ่านการฝึกอบรมจะมีความรู้และทักษะในการบังคับ หรือปล่อยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร และสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับตนเองและครอบครัว กำหนดฝึกอบรมระหว่างวันที่ 28-29 ตุลาคม 2564 โดยมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมฝึกอบรมทั้งสิ้น 30 คน

/////////////////////////

โชติกา ทวนชัยภูมิ /ภาพ/ข่าว

0956628047