สมาชิกวุฒิสภา ลงพื้นที่ติดตามโครงการขุดลอกแก้มลิง เพื่อเก็บกักและกระจายน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และให้กำลังใจพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยจากมวลน้ำหลาก

     วันที่ 20 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) ได้ลงพื้นที่พบประชาชนฯ โดยมี พลโท จเรศักณิ์ อานุภาพ สมาชิกวุฒิสภา เป็นหัวหน้าคณะฯ พร้อมด้วย นายสุชัย บุตรสาระ  นายตวง อันทะไชย นายวีระวัฒน์ เถระวัลย์ ผอ.ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด  นางมนัสนันท์ ศุภพิทักษ์สกุล พมจ. ร้อยเอ็ด นายโชคชัย วัฒนกูล นายอำเภอสุวรรณภูมิ  ผู้แทน ปภ.จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ทนกรมชลประทาน ปศุสัตว์อำเภอสุวรรณภูมิ  ผู้นำท้องถิ่น พี่น้องประชาชน ได้ร่วมลงพื้นที่  อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ณ บริเวณบึงท่าศาลา หมู่ที่ 12 ตำบลสระคู  ตำบลหินกอง ณ บริเวณหนองสีนาโยชย์ หมู่ที่ 1 และบริเวณหนองโพนดวน ตำบลหินกอง  ซึ่งบริเวณดังกล่าวทำโครงการขุดลอกแก้มลิง เพื่อปริมาณการเก็บกักน้ำและกระจายน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และทำการตรวจเยี่ยมผู้สูงอายุ ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 อีกด้วย

     พลโท จเรศักณิ์ อานุภาพ กล่าวว่า  ด้วยวุฒิสภากำหนดให้มีโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน เพื่อรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายและผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่ประกาศใช้บังคับแล้วให้สอดคล้องกับหลักตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 รวมทั้งปฏิบัติภารกิจตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 270 บัญญัติให้วุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจในการติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานมีภารกิจเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนเสนอแนะและเร่งรัดเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 16 การปฏิรูปประเทศและตามที่กำหนด ในยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะดำเนินการจัดโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่

   นายโชคชัย วัฒนกูล นายอำเภอสุวรรณภูมิ  กล่าวว่า อำเภอสุวรรณภูมิ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 691,901.25 ไร่ สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายไม่อุ้มน้ำ มีลำน้ำเสียว ลำห้วยหินลาด ลำพลับพลา และลำห้วยเล็กๆ หลายสายไหลผ่าน  พื้นที่ 142.18 ตารางกิโลเมตร มีสภาพเป็นที่ราบลุ่มต่ำ เป็นพื้นที่รับน้ำตามสภาพในบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ที่เอ่อลันออกมาจากลุ่มลำเสียวใหญ่ ทำให้ราษฎร์ประสบปัญหาทั้งท่วมซ้ำซากและแล้งซ้ำซาก ในหน้าฝนก็จะทำให้มีน้ำท่วมขังนาน เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางทางเดินน้ำ ส่งผลให้ต้นข้าวเน่าตาย เกิดความเสียหายในวงกว้างในช่วงฤดูแล้ง ก็จะประสบสภาวะแล้งมากเนื่องจากสภาพดินเป็นดินทรายจึงไม่กักเก็บน้ำประกอบกับในช่วงน้ำแล้ง คุณภาพน้ำอุปโภค บริโภคมีลักษณะขุ่น และมีความเค็มสูง จึงสมควรได้รับการพัฒนาคุณภาพน้ำอุปโภค บริโภคในพื้นที่ลำน้ำเสียวเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวตำบลสระดู เพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตรกรรม ประมงและด้านปศุสัตว์ เพราะเป็นลำน้ำสายหลักเพียงสายเดียวที่ไหลผ่านพื้นที่ตำบลสระดู มีลักษณะคดเคี้ยว มีเกาะแก่งจำนวนมาก แต่ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขินด้วยตะกอนดิน และวัชพืช ทำให้ลำน้ำเสียวไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้ ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะหมู่บ้านที่ใช้น้ำจากลำน้ำเสียวใหญ่ เพื่อผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน เช่น หมู่ที่ 10 บ้านสนาม หมู่ที่ 12 บ้านกู่ หมู่ที่ 14 บ้านหนองหว้า หมู่ที่ 21 บ้านกู่น้อยพัฒนาหากปีใดปริมาณน้ำฝนมีน้อย ก็จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งตามความเห็นของประชาชนได้แก่การขุดลอกลำน้ำเสียว ให้เต็มพื้นที่และทำถนนตลอดแนวการก่อสร้างแก้มลิง เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำการก่อสร้างฝ่ายทดน้ำการก่อสร้างสถานีสูบน้ำพลังงานไฟฟ้า/พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อผันน้ำจากลำน้ำเสียวใหญ่สู่ระบบคลองของกรมพัฒนาที่ดิน และจุดที่เหมาะสม จัดระเบียบพร้อมยกระดับมาตรฐานคันคลองส่งน้ำเพื่อทางน้ำไหลผ่าน

นายสอน ดวงสิงห์  อายุ 73 ปีชาวบ้าน หมู่ 14 บ.หนองหว้า ต.สระคู อ. สุวรรณภูมิ  กล่าวว่า การจะแก้ปัญหาให้เอาปัญหาของพี่น้องประชาชน เกษตรกรที่เจอปัญหาจริงๆเข้าไปแก้ ก็จะแก้ถูกๆจุดจะแก้ปัญหาได้ แม้การจะทำโครงการอะไร ก็อยากให้เกษตรกรเป็นผู้ต้องการไม่ใช่ทางหน่วยงานเป็นคนที่ทำและก็สั่งการให้ทำ อยากให้ทางกระทรวงให้มองว่าเกษตรกรเป็นคนในครอบครัวของท่านจะทำอะไรก็ให้นึกถึงครอบครัว สิ่งที่ตนต้องการในตอนนี้คือการที่จะเอาไฟฟ้าเข้าแปลงเกษตรทฤษฎีไหม ตนทำเรื่องขอการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่เกษตรกร เข้าหาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ก็ยังไม่ได้  และได้ยื่นเรื่องขอมานานหลายปีแล้ว  ตนจึงฝากประเด็นนี้ให้กับทางทีมวุฒิสภาที่ลงพื้นที่เพื่อรับข้อเสนอของเกษตรกรเพื่อส่งต่อถึงผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้เกษตรกรในพื้นที่จะได้มีไฟฟ้าใช้เพื่อทำการเกษตรต่อไป

ช่วงเวลา 14.00 น.ในวันเดียวกัน สมาวุฒิสภา พร้อมคณะได้เดินทางไป ที่ บ้านดินดำ ตำบลดินดำอำเภอจังหารจังหวัดร้อยเอ็ด ส่งมอบความห่วงใย พร้อมให้กำลังใจพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยมวลน้ำหลาก ที่มาจากจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม   ไหลเข้าในหมู่บ้านจนทำให้น้ำท่วมขังสูงถึง 1.20 ซม. บ้านเรือนได้รับความเสียหายกว่าร้อยหลังคาเรือน พื้นที่เกษตรกร เสียหายมากถึง 6 พันไร่

////////////////////////////////

โชติกา ทวนชัยภูมิ/ภาพ/ข่าว

0956628047