วันศุกร์, 28 มีนาคม 2568

ธปท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือสรุปภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือน มี.ค. 64

จาก ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนมีนาคม 2564 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกสองในเดือนมกราคม 2564 ที่คลี่คลายลง และผลจาก
มาตรการสนับสนุนกําลังซื้อของภาครัฐ รวมถึงรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้การอุปโภค
บริโภคภาคเอกชนขยายตัว ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวชะลอลง ตามการลงทุนก่อสร้างที่เร่งไป
ในช่วงก่อน ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเร่งขึ้นตามอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรและการผลิต
เพื่อการส่งออก อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาครัฐหดตัว ตามรายจ่ายประจําเป็นสําคัญ
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลง ตามหมวดพลังงาน จากราคาขายปลีก
น้ํามันในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ํามันดิบในตลาดโลก และหมวดอาหารสด ตามราคาเนื้อสัตว์
ผัก/ผลไม้สดและแปรรูปที่หดตัวน้อยลง ด้านตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง สําหรับภาคการเงินเดือน
กุมภาพันธ์ 2564
เงินฝากและสินเชื่อคงค้างขยายตัวใกล้เคียงเดิม
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว ตามการใช้จ่ายที่ปรับดีขึ้นในหมวดบริการ หลังการ
ระบาดโรค COVID-19 ระลอกสองในช่วงเดือนมกราคม 2564 เริ่มคลี่คลาย เช่นเดียวกับการใช้จ่ายสินค้า
คงทนหมวดยานยนต์ที่ปรับดีขึ้นจากกิจกรรมส๋งเสริมการขายของผู้ประกอบการ ขณะที่การใช้จ่ายใน
ชีวิตประจําวันอยู่ในระดับใกล้เคียงเดือนก่อน โดยยังได้รับปัจจัยสนับสนุนกําลังซื้อจากมาตรการภาครัฐ
อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ ภาคบริการด้านการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวทั้งจํานวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้
ภาคบริการสาขาโรงแรมและภัตตาคาร จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดได้มากขึ้น ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้น
จากเดือนก่อน
รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งผลผลิตและราคา โดยผลผลิตขยายตัวจากอ้อยโรงงานที่เร่ง
เข้าหีบก่อนปิดหีบอ้อยในช่วงปลายเดือน และมันสําปะหลังเพิ่มขึ้นตามพื้นที่เพาะปลูก ด้านราคาสินค้า
เกษตรขยายตัว จากราคายางพารา ตามความต้องการของอุตสาหกรรมถุงมือยางที่มีต่อเนื่อง และราคา
อ้อยโรงงานที่มีการเร่งซื้อก่อนปิดหีบอ้อย เพื่อให้มีน้ําตาลเพียงพอต่อการส่งมอบลูกค้า
การใช้จ่ายภาครัฐ หดตัวตามรายจ่ายประจําจากหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเหลื่อมเดือนของการเบิกจ่าย
ขณะที่รายจ่ายลงทุนขยายตัวต่อเนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างของกรมทางหลวง
กรมทางหลวงชนบท และกรมชลประทาน
การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวชะลอลง ตามการลงทุนก่อสร้างที่ชะลอลงหลังจากเร่งไปในช่วงก่อน
อย่างไรก็ดี การลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ขยายตัวต่อเนื่อง จากการนําเข้าสินค้าทุนที่ใช้ผลิตเพื่อการส่งออก
และยอดจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ขยายตัวจากธุรกิจขนส่ง

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวเร่งขึ้น ตามการผลิตน้ําตาลที่เร่งนําอ้อยเข้าหีบก่อนปิดหีบ
ปลายเดือนมีนาคม การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และสิ่งทอขยายตัว ตามแนวโน้มการส่งออกที่ปรับดีขึ้น
และการผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขยายตัว จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 ของภาครัฐ
และส่วนหนึ่งจากการโยกการผลิตชั่วคราวจากโรงงานที่มีกําลังการผลิตไม่เพียงพอ
มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากร ขยายตัวชะลอลงทั้งการส่งออกและการนําเข้า โดยการส่งออก
ชะลอลงในหมวดชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์ ประเภท Cloud Storageจากผลของฐานสูงในปีก่อน และ
การส่งออกทุเรียนที่เร่งส่งออกไปมากแล้วในเดือนก่อน แต่มูลค่าการส่งออกโดยรวมยังอยู่ในระดับสูง
ขณะที่การนําเข้าชะลอลงในเกือบทุกหมวดสินค้าสําคัญ
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบที่ร้อยละ 0.17 ติดลบน้อยลงจากเดือนก่อน
จากหมวดพลังงาน ตามราคาขายปลีกน้ํามันในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ํามันดิบในตลาดโลก และ
หมวดอาหารสด ตามราคาเนื้อสัตว์ ผัก/ผลไม้สดและแปรรูปที่หดตัวน้อยลง ด้านตลาดแรงงานยังเปราะบาง
สะท้อนจากจํานวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมที่เพิ่มขึ้น
ภาคการเงิน ยอดเงินฝากและสินเชื่อคงค้างของสถาบันการเงินเดือนกุมภาพันธ์2564 ขยายตัว
ใกล้เคียงเดิม โดยเงินฝากคงค้างยังอยู่ในระดับสูง ตามความต้องการรักษาสภาพคล่องของภาคธุรกิจและ
ประชาชน ด้านสินเชื่อคงค้างขยายตัวใกล้เคียงเดิม โดยสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังขยายตัว
จากมาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการของภาครัฐ และสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ปรับดีขึ้น
จากธุรกิจที่เริ่มฟิ้นตัว
ธนาคารแห่งประเทศไทย
30 เมษายน 2564

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าวมวลชนไทยนิวส์ข่าวออนไลน์-0628929797 DNk79R.jpg orj1qN.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png