วันศุกร์, 11 ตุลาคม 2567

สรรพากรขยายเวลายื่นแบบฯ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านอินเทอร์เน็ต ช่วยเพิ่มสภาพคล่องในระบบกว่า 265,700 ล้านบาท

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า “เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยเหลือประชาชนกว่า 10.3 ล้านราย ที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และภ.ง.ด.91 และผู้ประกอบการที่ยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกว่า 5.1 แสนราย ให้มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจกว่า 265,700 ล้านบาท”​​นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “การขยายเวลาการยื่นแบบฯให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการดังกล่าว เพื่อดูแลและเยียวยาการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยการขยายเวลายื่นแบบฯ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ประชาชนในระบบ ประมาณ 10,600 ล้านบาท และการขยายเวลายื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการประมาณ 255,100 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดของการขยายเวลายื่นแบบฯ ดังต่อไปนี้​​

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2563 (แบบ ภ.ง.ด.90 แบบ ภ.ง.ด.91) ที่ต้องยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ให้ขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เฉพาะแบบที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต​​2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (แบบ ภ.ง.ด. 1 แบบ ภ.ง.ด.

2 แบบ ภ.ง.ด. 3 แบบ ภ.ง.ด. 53 และ แบบ ภ.ง.ด. 54) ขยายเวลาการยื่นแบบฯ ถึงวันสุดท้ายของเดือนที่ต้องยื่นแบบฯ โดยให้เริ่มขยายเวลาสำหรับการยื่นแบบฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึงเดือน มิถุนายน2564 เฉพาะแบบฯ ที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต

​​3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 30 แบบ ภ.พ. 36) ขยายเวลาการยื่นแบบฯ ถึงวันสุดท้ายของเดือนที่ต้องยื่นแบบฯ โดยให้เริ่มขยายเวลาสำหรับการยื่นแบบฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึงเดือน มิถุนายน2564 เฉพาะแบบฯ ที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต”​​นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวสรุปว่า “การขยายเวลายื่นแบบฯ ทางอินเทอร์เน็ต เป็นการสนับสนุนการทำธุรกรรมทางภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์จากที่บ้านหรือ Tax From Home ช่วยลดความแออัดและความเสี่ยงจาก COVID – 19 ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งช่วยเพิ่มสภาพคล่องในมือประชาชนและผู้ประกอบการให้มีมากขึ้นและนานขึ้น โดยไม่ได้กระทบการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังต้องบริหารจัดการกระแสเงินสดเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาการชำระภาษีที่เลื่อนออกไป”