กรมควบคุมโรค โดย กองป้องกันการบาดเจ็บ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพทีมวิทยากร/ครู “ทักษะคิด การเอาชีวิตรอดภัยบนท้องถนน” เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุน้อยกว่า 20 ปี (รุ่นที่ 1) หลักสูตร Trsin the Trainer :มนุษย์ปัจจัยเพื่อความปลอดภัยทางถนน เพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีต่อพฤติกรรมที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผลมากขึ้น วิธีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วคือการถามคำถาม “คำถามเชิงกระบวนการ” ที่กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมตัดสินใจส่วนตัวเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองคำถามเกี่ยวกับกระบวนการที่แนะนำจะรวมอยู่ในแผนการสอนของผู้สอนที่ส่วนท้ายของแต่ละโมดูลของคู่มือผู้สอน “มนุษย์ปัจจัยในการใช้รถใช้ถนน” การจัดอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรตินาวาอากาศเอกสุวรรณ ภู่เต็ง นักเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ดร. ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์ กองป้องกันการบาดเจ็บ เป็นวิทยากรตลอดงาน //จัดโดย กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม จาก สคร. 7 – 8 – 9 10 พร้อมทีมวิจัย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 24 ธ.ค.63 ที่ โรงแรมเจริญธานี อ.เมือง จ.ขอนแก่น
ดร. ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์ กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรคกล่าวว่า ด้วยปัญหาอาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของเด็กและเยาวชนไทยที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นใน 9 ปีที่ผ่านมา (2554 – 2562 ) มีเด็กและเยาวชนไทยอายุระหว่าง 10 – 19 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 26,120 คน เฉลี่ย 2,902 คนต่อปี เกิดจากการประมาณการตายจากอุบัติเหตุทางถนนช่วงเวลา Time series และในช่วง 10 ปีต่อจากนี้ (2564 – 2573) หากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง จะมีเด็กและเยาวชนไทยตายจากอุบัติเหตทางถนนอีก 37,321 คน เฉลี่ยปีละ 3,732 คน กรมควบคุมโรคได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว และจำเป็นต้องยกระดับปัญหาการตายจากอุบัติเหตุทางถนนของเด็กและเยาวชนไทยเป็นวาระเร่งด่วน ที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาโดยการขับเคลื่อนจำเป็นต้องมีการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์กลยุทธ์และเป้าหมายที่ชัดเจนและถ่ายทอดนโยบายไปสู่การขับเคลื่อนในระดับประเทศและในระดับพื้นที่ตลอดจนพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาโดยใช้ นวัตกรรมหรือรูปแบบใหม่ๆมานำเป็นการในลักษณะการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อลดระดับการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของเด็กและเยาวชนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
***นาวาอากาศเอกสุวรรณ ภู่เต็ง นักเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย เปิดเผยว่า หลักสูตรครูมนุษย์ปัจจัยที่นำเอาทักษะการอำนวยการเรียนรู้เป็นบทบาทหลักคือ การจัดการกระบวนการการเรียนรู้เป็นกลุ่มและทำให้แน่ใจว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ผู้ใหญ่เรียนรู้ได้ดีที่สุดจากประสบการณ์จึงได้นำมาเป็นทักษะให้ผู้เข้าอบรมเป็นวิทยากรหรือครูเป็นผู้ปลูกฝังความรู้ให้แก่นักเรียนและเยาวชน จะได้มีทักษะเรื่องของความปลอดภัย ใช้ 5 ขั้นตอนการเรียนรู้
1. ให้ประสบการณ์ด้วยการให้แต่ละคนได้ประสบการณ์ในการสร้างข้อมูลส่วนบุคคลจากประสาทรับสัมผัสทั้ง 5(ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง) ข้อมูลเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก ความต้องการ รวมทั้งการกระทำ
2. ให้กระบวนการ ด้วยการบอกเล่า ทำความเข้าใจกับข้อมูลที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในรูปแบบส่วนบุคคลและกลุ่ม
3. ให้หลักเกณฑ์ด้วยการฝึกให้พัฒนาสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้ทางกายภาพ รวมทั้งทดสอบความคิดความจำ ความรู้สึก ความใส่ใจ ฯลฯ หรือปรากฎการณ์ทางจิตใจ ของข้อมูลที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์
4. ให้สร้างหนทางปฏิบัติใหม่ เพื่อเชื่อมโยงปัจจุบันและอนาคตโดยการทำความเข้าใจ และ / หรือ วางแผนว่าจะทดสอบบทสรุปเหล่านี้ในสถานที่หรือสถานการณ์ใหม่ในการใช้รถใช้ถนนให้สำเร็จและปลอดภัยเสมอได้อย่างไร
5. ให้นำไปใช้เพื่อประยุกต์ใช้การเรียนรู้ใหม่ที่ได้รับในสถานการณ์ของการใช้รถใช้ถนนที่เกิดขึ้นจริง
ปี 2563 ตามโครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการตายและบาดเจ็บสำหรับเด็กและเยาวชนที่ใช้รถจักรยานยนต์ที่มีประสิทธิผลโดยการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและความตายจากการใช้รถจักรยานยนต์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุน้อยกว่า 20 ปี และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบโดยความร่วมมือในกรมควบคุมโรคกับศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนนพบว่าเด็กเริ่มเข้าสู่วงการนักขับมือใหม่บนท้องถนนตั้งแต่อายุ 10-12 ปีโดยไม่มีหน่วยงานควบคุมดูแลการเรียนรู้และฝึกหัดขับขี่รถจักรยานยนต์ และเยาวชนไทยกว่า 87% ไม่มีใบอนุญาตขับขี่
//////////////////////////
โชติกา ทวนชัยภูมิ/ภาพ/ข่าว
0956628047