วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจับมือ คณะเทคโนโลยี มข. ติวเข้มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ยกระดับมะม่วงอีสานสู่สู่สินค้าแปรรูป นำร่องมะม่วงผงและมะม่วงเพียวเร่

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจับมือ คณะเทคโนโลยี มข. ติวเข้มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ยกระดับมะม่วงอีสานสู่สู่สินค้าแปรรูป นำร่องมะม่วงผงและมะม่วงเพียวเร่ หลังตลาดมีความต้องการอย่างมาก “อริยาพร” ย้ำชัดไม่หวงสูตรและไม่สงวนลิขสิทธิ์
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 4 พ.ย.2565 ที่อาคารปฎิบัติการแปรรูปอาหาร ตึก 4 คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. ดร.อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มข. ร่วมเป็นประธานเปิดการฝึกอบรการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะกระบวนการแปรรูปมะม่วงผงอบแห่งและมะม่วงเพียวเร่ ซึ่งกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้กำหนดจัดกิจกรรมขึ้นตามโครงการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจการผลิตผลไม้ไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงในพื้นที่ จ.ขอนแก่น,มหาสารคาม,กาฬสินธุ์ และ จ.นครราชสีมา เข้าร่วมรับการฝึกอบรมรวมกว่า 60 คน


ดร.อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า มะม่วงเป็นพืชที่มีจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกมากที่สุด โดยปัจจุบันมีครัวเรือนเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงรวมทั้งประเทศกว่า200,830 ครัวเรือน โดยมีพื้นที่ปลูก 913,788.60 ไร่ มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 433,474.66 ไร่ มีผลผลิตรวมประมาณ 1 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 2,082 กก.ต่อไร่ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา การผลิตมะม่วงมีอัตราการขยายตัวของแต่ละพื้นที่และมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น จนเกิดปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำและล้นตลาด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้กำหนดนโยบายและแผนปฎิบัติการในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้วยการยกระดับสินค้าเกษตรสู่อุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นน้ำคือเกษตรกรผู้เพาะปลูก จนถึงปลายน้ำคือผู้แปรรูปและส่งออก เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรม และลดความเสี่ยงด้วยการจัดการ รวมไปถึงการช่วยพัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ที่สำคัญคือการช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกร และเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของไทยในระดับสากล


“ขณะนี้เข้าสู่ขั้นตอนที่ 1 ที่คณะทำงานร่วมระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับ มข.ได้ดำเนินงาน ซ฿งการจัดอบรมที่ มข.ครั้งนี้มีเกษตรกรเป้าหมาย 60 คน และทั้งประเทศ คือจะมีกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงประมาณ 400 คน ที่จะเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในการแปรรูปมะม่วงตามสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกัน ซึ่งภาคอีสานจะเด่นเรื่องมะม่วงน้ำดอกไม้และมะม่วงแก้วขมิ้น จึงกลายมาเป็นที่มาของการฝึกอบรมในการทำมะม่วงผงและมะม่วงเพียวเร่ ซึ่งเป็นการแปรรูผลไม้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัตถุดิบแปรรูปเบื้องต้นให้มีอายุเก็บรักษาที่นานขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ธุรกิจบริการอาหารเครื่องดื่ม และเมื่อการอบรมทั้งประเทศในกล่มเป้าหมาย 400 คนครบแล้ว ก็จะคัดเลือกให้เหลือ 15 คนเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 ในการยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปเป็นเมนูอาหารและเครื่องดื่ม ตามแผนการเชื่อมโยงมะม่วงในการเข้าสู่ธุรกิจอาหารที่สมบูรณ์แบบและเกิดความยั่งยืนให้กับเกษตรกรในแต่ละพื้นที่”


ดร.อริยาพร กล่าวต่ออีกว่า การจัดกระบวนการการเรียนการสอนครั้งนี้ สูตรการทำ ต่างๆที่คณะอาจารย์ได้ถ่ายทอดและพากันลงมือทำเพื่อปฎิบัติจริง ทุกสูตรนั้นจะส่งมอบให้กับเกษตรกรทุกคน เรียกได้ว่าไม่หวงสูตรและไม่สงวนลิขสิทธิ์ เพราะมะม่วงเป็นผลไม้ที่มีอายุสั้น ดังนั้นการแปรรูปและแปรสภาพ ที่ถูกต้อง ตรงตามหลักวิชาการ มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยที่เกษตรกรสามารถที่จะดำเนินการได้ ควบคู่กับการส่งออกมะม่วงสด ทั้งหมดจะก่อให้เกิดความยั่งยืนกับเกษตรกรไทย และที่สำคัญคือการต่อยอดผลิตภัณฑ์มะม่วงไทยโดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งมีรสชาติดี อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ทั้งสานต้านอนุมูลอิสระ วิตามินชนิดต่างๆ มีสรรพคุณทางยา และเป็นที่ต้องการของตลาดผลไม้ทั่วโลก ดังนั้นเมื่อการอบรมดังกล่าวเสร็จสิ้นหากจะมีการเติมสูตรเด็ดเฉพาะภูมิภาคหรือสูตรเด็ดประจำถิ่นเข้าไป ก็จะสร้างมูลค่าของมะม่วงแปรรูปตามความต้องการของตลาดได้อย่างดีอีกด้วย

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สำนักบริการวิชาการ เปิดบ้านต้อนรับ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อหารือแนวทางการจัดทำหลักสูตร Non-degree และ หลักสูตรการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
สำนักบริการวิชาการ เดินหน้าหารือ แนวทางการทำหลักสูตรเพื่อคนพิการ ร่วมกับหน่วยงานภายนอก ตั้งเป้าสร้างอาชีพ 100 คน ภายใต้แนวคิด “เปลี่ยนภาระ เป็นพลัง”
สำนักบริการวิชาการ มข. ผนึก 3 หน่วยงาน ทบทวนแผนการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิต (KKU Lifelong Education)
เมืองไป่เซ่อผลักดันอุตสาหกรรมมะม่วง เปิดเส้นทางอันสดใสกรุยทางสู่การฟื้นฟูชนบท
มณฑลส่านซีประกอบพิธีบูชาจักรพรรดิเหลืองเนื่องในเทศกาลเช็งเม้งประจำปี 2567
เปิดโมเดลนวัตกรรมเพื่อสังคม-เศรษฐกิจ ‘มข.’ ชูเทคโนโลยี ‘เตียงอัจฉริยะ’ ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยสูงวัย-เพิ่มรายได้ชุมชน