“สพป.ขอนแก่น เขต 4” จับมือสถานศึกษาในสังกัด พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านภาษาไทย
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 กับผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด บันทึกช้อดกลงความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านภาษาไทย ตามนโยบาย “เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ ลายมือสวยทุกคน” ปีการศึกษา 2565
เมื่อวันที่ 9 เตือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ที่หอประชุมใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4(สพป.ขอนแก่น เขต 4)นายชาญกฤต น้ำใจดี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 เป็นประธานการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพภาษาไทยระหว่างผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 4 กับผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด ตามนโยบาย “เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ ลายมือสวยทุกคน” ปีการศึกษา 2565 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ด้วยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 มีนโยบายปีการศึกษา 2565″เป็นปีแห่งการส่งเสริมการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ : เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ลายมือสวยทุกคน ” ผ่านโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวทางการดำเนินงานของชมรมครูภาษาไทย และได้กำหนดจุดเน้น “5 QUALITY MODEL”เป็นเป้าหมายการพัฒนา โดยมีนายวิโรจน์ ค้อไผ่ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 (สักขีพยาน)ตัวแทนชมรมผู้บริหารสถานศึกษาของแต่ละอำเภอ และประธานชมรมครูภาษาไทยเป็นผู้รับข้อตกลง ดังนี้ นายกสมาคมครูอำเภออุบลรัตน์ โดย นายสุรชิน วิเศษลา ผอ.รร.อนุบาลอุบลรัตน์, ประธานชมรมผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอน้ำพอง โดย นายเวชยันต์ อาศนะ ผอ.ร.ร.บ้านวังชัย, ประธานชมรมผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอกระนวน โดย นายสุรพล สุพรมพิทักษ์ผอ.ร.ร.หนองโนวิทยาคาร ,ตัวแทนชมรมครูอำเภอเขาสวนกวาง โดย น.ส.มณีรัตน์ เวียงวิเศษผอ.รร.บ้านโนนทองห้วยบาก ประธานกลุ่มโรงเรียนชำสูงอำเภอซำสูง โดย นายสมบูรณ์ แสนโฆเมฆผอ.รร.บ้านโคกใหม่ และประธานชมรมครูภาษาไทย สพป.ขอนแก่น เขต 4 โดย นางปรางทอง แก้วเหล่ายูง ครูรร.บ้านผักหนาม (สักขีพยาน)
นายชาญกฤต น้ำใจดี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 กล่าวว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 มีนโยบายปีการศึกษา 2565 “เป็นปีแห่งการส่งเสริมการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ : เต็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ลายมือสวยทุกคนทุกคน” ผ่านโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวทางการดำเนินงานของชมรมครูภาษาไทย และได้กำหนดจุดเน้น “5 QUALITY MODEL” เป็นเป้าหมายการพัฒนา
นายชาญกฤต กล่าวด้วยว่าดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านภาษาไทยตามนโยบาย ปีการศึกษา 2565 จึงทำบันทึกข้อตกลงร่วมมือกับผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อให้สถานศึกษาทุกแห่งมีแผนพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทยระดับโรงเรียน แผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล ตามนโยบาย “เต็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ลายมือสวยทุกคน” อีกทั้งให้สถานศึกษาทุกแห่งใช้กิจกรรมภาษาพาเพลินด้วยบันได 7 ขั้นในการส่งเสริมการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ใด้ทุกระดับชั้น ตลอดจน สถานศึกษาทุกแห่งประกาศนโยบาย “เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ลายมือสวยทุกคน” ให้ครู-ผู้ปกครองรับทราบและมีส่วนร่วมดำเนินการ รวมถึงจัดทำ MOU เพื่อดำเนินการเร่งรัดการอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้
นายชาญกฤต กล่าวอีกว่าให้สถานศึกษาทุกแห่งประเมินการอ่านการเขียนนักเรียนทุกระดับชั้น วิเคราะห์และจัดทำข้อมูลนักเรียนทุกระดับชั้นที่มีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นรายบุคคล พร้อมด้วยครูผู้สอน และนักเรียนของสถานศึกษาทุกแห่งผ่านการประเมินห้องเรียนคุณภาพ โดยการใช้กิจกรรมภาษาพาเพลินไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และผ่านการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (ระดับดี ขึ้นไปในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2565 เพื่อที่นักเรียนทุกระดับชั้นได้รับการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย และเพื่อที่จะทำให้ครูผู้สอนในสถานศึกษาทุกแห่งได้รับการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกระบวนการนิเทศเชิงระบบโดยคณะกรรมการดำเนินงานระดับเขตพื้นที่ และคณะกรรมการศูนย์เครือข่ายอำเภอ