วันจันทร์, 27 มีนาคม 2566

พลเอกประวิตร สั่งเตรียมพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำชีหวังตัดยอดน้ำก่อนหลากกระทบประชาชน

     รองนายกฯ ประวิตร สั่งการ สทนช. ลุยตรวจความพร้อมพื้นที่ลุ่มต่ำลำน้ำชีรองรับน้ำหลาก กรณีเกิดฝนตกหนักในพื้นที่เร่งดันแผนพัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำ 4 แห่งตามผังน้ำ รับน้ำนองเพื่อจัดการน้ำท่วมเก็บใช้หน้าแล้งซึ่งเก็บกักน้ำได้กว่า 230 ล้าน ลบ.ม.

      เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 08.00 น. ที่สำนักงานโครงการชลทานร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด นายปรีชา สุขกล่ำ ที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมคณะประกอบด้วย นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นายเทิดพงศ์ ไทยอุดม ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 3 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ โดยมี นายเกียรติศักดิ์ หนูแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 นายองอาจ แสนอุบล ผู้อำนวยการส่วนวิศวกรรม สำนักงานซลประทานที่ 6 นายจิรศักดิ์ มงคลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโครงการซลประทานร้อยเอ็ด ร่วมให้การต้อนรับ

         นายปรีชา สุขกล่ำ ที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ภายหลังลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า 10 มาตราการรับมือฤดูฝนนี้บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำลำน้ำยัง และความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำ และงานขุดลอกในพื้นที่ลุ่มน้ำยังกายใต้งบบูรณาการฯ ปี 2564 ณ ประตูระบายน้ำบุ่งเบ้า ต.นาแชง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ว่าพื้นที่ลุ่มต่ำในลุ่มน้ำชีเป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมซ้ำซาก ที่ทางกรมชลประทานและกรมทรัพยากรน้ำร่วมกับ สทนช. ร่วมกันกำหนดขอบเขตเพื่อที่จะศึกษาพัฒนาเป็นพื้นที่น้ำนอง เพื่อรับน้ำเข้าในช่วงน้ำหลากและกักน้ำไว้ใช้ในช่วงแล้งรวม 4 พื้นที่ ได้แก่ 1.พื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำยัง ครอบคลุม จ.ยโสธร และ จ.ร้อยเอ็ด ขนาดพื้นที่รับน้ำ 389,163 ไร่ 2.พื้นที่ลุ่มต่ำชี จ.ชัยภูมิ ขนาดพื้นที่รับน้ำ 1,899 ไร่ 3.พื้นที่ลุ่มต่ำชี 2 จ.อุดรธานี ขนาดพื้นที่รับน้ำ 1,074 ไร่ และ 4. พื้นที่ลุ่มต่ำชีร้อยเอ็ด และ จ.มหาสารคาม ขนาดพื้นที่รับน้ำ 2,127 ไร่ ซึ่งจากข้อเสนอแนะตามผลการศึกษาผังน้ำลุ่มน้ำซีในพื้นที่ลุ่มต่ำเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นที่ควบคุมการออกใบอนุญาตใช้ที่ดินนำข้อกำหนดดังกล่าวไปบังคับใช้ต่อไป การใช้พื้นที่ลุ่มต่ำตามที่หน่วยราชการวางเป้าหมายไว้ รวมทั้งพื้นที่ทางน้ำหลากที่มีลักษณะเหมาะสมมาพัฒนาเป็นพื้นที่ซะลอน้ำในฤดูน้ำหลาก และกักน้ำไว้ชั่วคราวเพื่อใช้ในฤดูแล้ง จะช่วยบรรเทาอุทกภัยและการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชีได้

         โดยในการศึกษาจัดทำผังน้ำพบว่าพื้นที่ข้างต้นสามารถชะลอน้ำ กักน้ำ ได้ถึงประมาณ 230 ล้าน ลบ.ม สำหรับแผนบริหารจัดการน้ำจะทำการควบคุมการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จำนวน 23 แห่ง ด้านท้ายเขื่อนมหาสารคาม โดยจะปรับลดอัตราการระบายน้ำ และจะทยอยปรับลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ต้านท้ายน้ำ สำหรับทางด้านแม่น้ำมูล กรมชลประทาน จะทำการชะลอน้ำที่เขื่อนราศีไศลและเขื่อนหัวนา พร้อมปรับลดการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จำนวน 57 แห่ง อีกด้วย

          นายจิรศักดิ์ มงคลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโครงการซลประทานร้อยเอ็ด กล่าวว่า ด้านสถานการณ์นำในแม่น้ำยัง หลังจากที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่องมาหลายวัน ขณะนี้จากปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น ทางสำนักงานโครงการชลประทานร้อยเอ็ด ยังสามารถรับมือได้อย่างแน่นอน หากไม่มีเหตุการณ์เกิดพายุขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง ในส่วนพี่น้องประชาชนชาวอำเภอเสลภูมิ ที่ติดกับลำน้ำยัง เมื่อมีปริมาณฝนมากขึ้นน้ำมากขึ้นถึงฤดูน้ำหลากตามปกติ ก็สามารถทอดแห ตกสะดุ้ง ทั้งสะดุ้งขนาดเล็ก และสะดุ้งแม่น้ำ เพื่อหาปลาเป็นอาหาร เลี้ยงครอบครัว เหลือก็ขายสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวต่อไป

  //////////////////////////////////////

โชติกา ทวนชัยภูมิ / ภาพ/ข่าว

0956628047