วันอาทิตย์, 27 เมษายน 2568

สมาคมผู้บริโภคร้อยเอ็ด ยื่นหนังสือถึงคณะรัฐมนตรีเพื่อขอให้ชะลอการเข้าร่วม CPTPP ผ่านศูนย์ดำรงธรรมร้อยเอ็ด

       จากการที่รัฐบาลไทย มีนโยบายที่จะพยายามจะนำประเทศไทยเข้าร่วม “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก” หรือ The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership (CPTPP) โดยอ้างว่าข้อตกลงดังกล่าว ประเทศไทยจะได้ผลประโยชน์มากกว่าเสียผลประโยชน์นั้น

   วันที่ 21 มิ.ย.64 เวลา 13.30 น.  นางอาภรณ์ อะทาโส  ผู้จัดการสมาคมผู้บริโภคร้อยเอ็ด นำทีมเครือข่ายยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงค์ ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภคต่อคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เพื่อชะลอการเข้าร่วม CPTPP ต่อ นายวีระวัฒน์ เถละวัลย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเสนอต่อท่านผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายชยันต์  ศิริมาศ  ที่ ห้องบริการประชาชน ศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดร้อยเอ็ด ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด

        นางอาภรณ์ อะทาโส  ผู้จัดการสมาคมผู้บริโภคร้อยเอ็ด กล่าวว่า  สมาคมผู้บริโภคร้อยเอ็ดได้ศึกษาข้อมูลจากผลการศึกษาตามแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ จัดจ้าง สรุปได้ว่า การเข้าร่วม CPTPP จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว โดย GDP   จะขยายตัว 0.12% คิดเป็นมูลค่า 13,320 ล้านบาท การลงทุนขยายตัว 5.14% คิดเป็นมูลค่า1488,240 ล้านบาทนั้น ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ศึกษา CPTPP สภาผู้แทนราษฎร ตั้งข้อสังเกตว่าผลการศึกษาดังกล่าว ยังมิได้คำนึงถึงบริบททางสังคมและบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีใช่รัฐ (Non-stateactor)

        ส่วนด้านผลกระทบด้านลบต่องบประมาณหรือค่าใช้จ่ายของประเทศนั้น จากข้อเสนอของสภาเภสัชกรรมต่อคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา พบว่า จะเกิดผลกระทบไม่น้อยกว่า 420,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 30 ปี รวมทั้งมูลค่าของอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศลดลงสูงสุดถึง 1แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายด้านยาที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่องบประมาณของรัฐในการจัดบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากข้อมูลผลการวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ พบว่าอุตสาหกรรมยาขนาดเล็ก ต้องพึ่งพิงการนำเข้าเป็นหลัก ในปีพ.ศ. 2562 มีบริษัทที่มีขนาดตลาดมากกว่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป เพียงร้อยละ 17 จำนวนบริษัท 21 แห่ง จากทั้งหมด 123 แห่งทำให้สัดส่วนการผลิตยาในประเทศ เมื่อเทียบกับการนำเข้ายา จะเห็นว่า มีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ซัดจากร้อยละ 69 ในปี 2530 ลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 29 ในปี 2562 และมีแนวโน้มการนำเข้ายาสูงขึ้นทุกปี และการคาดการณ์ผลกระทบของ CPTPP ในระยะเวลาประมาณ 30 ปี (2562-2540)ภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศที่เพิ่มขึ้นมาจาก ราคายาสูงขึ้น ประเทศไทยพึ่งพิงยานำเข้าเพิ่มขึ้น โดยสรุปดังนี้

1) ค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นสูงสุด เฉลี่ยปีละ 14,000 ล้านบาท

2) สัดส่วนการพึ่งพิงนำเข้ายาเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันร้อยละ 71 เพิ่มเป็นร้อยละ 89

3) มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศลดลง คิดเป็นมูลค่าตลาดที่หายไปสูงสุดถึง 1 แสนล้านบาท

     ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมผู้บริโภคร้อยเอ็ด ขอส่งข้อเสนอดังกล่าวต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อส่งต่อข้อเสนอขององค์กรผู้บริโภคต่อคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ขอให้ท่านตระหนักในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนไทยทั้งประเทศ หากมีการเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการเจรจาเข้าร่วมความตกลง CPTPPผ่านการพิจารณาด้วยความรอบคอบและมองประโยชน์ของประชาชนที่เป็นผู้บริโภคเป็นส่วนใหญ่

////////////////

โชติกา  ทวนชัยภูมิ/ภาพ/ข่าว

0956628047