วันศุกร์, 28 มีนาคม 2568

พช.ขอนแก่น ประกวดผู้นำการเปลี่ยนแปลงดีเด่น ระดับเขตตรวจราชการ ประจำปี 2564

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.00 – 16.30 น. นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน รับผิดชอบเขตตรวจราชการที่ 12(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง) เป็นประธานการประกวดผู้นำการเปลี่ยนแปลงดีเด่น ประจำปี 2564 ตามโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พร้อมด้วย นางกนกกร สุทธิอาจ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานีและนายธิติพันธ์ พลสิงห์ ผช.ผอ.ศพช.อุดรธานี ร่วมเป็นคณะกรรมการฯ ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Cloud Meeting ณ ห้องประชุมเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
โครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นโครงการที่กรมการพัฒนาชุมชน ได้ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างผู้นำชุมชนโดยการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในระดับต่างๆ ให้ผู้นำชุมชนมีความรู้คู่คุณธรรม สามารถบริหารจัดการชุมชนของตนเองได้ และเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้นำชุมชนให้สามารถบูรณาการงานพัฒนาชุมชนนำไปสู่การพึ่งตนเองได้
2.เพื่อใช้พลังชุมชนในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม และสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ในภาวการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid – 19)เพื่อให้เกิด 3 สร้าง ได้แก่ 1) สร้างความมั่นคงทางอาหาร 2) สร้างสิ่งแวดล้อมยั่งยืน และ 3) สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชน
ในการนี้ นายจำเริญ แหวนเพ็ชร พัฒนาการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย นางจิรภา เชื้อดวงผุย ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชนนางสาวอัญชนิดา กมลเพ็ชร ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน และนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด พัฒนาการอำเภอเปือยน้อย และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอเข้าร่วมนำเสนอข้อมูล โดยมีนายณัฎฐ์กร บุญโรภาคย์ นายอำเภอเปือยน้อย ให้การต้อนรับและร่วมให้กำลังใจแก่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ณ หอประชุมอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น

หลังจากนั้นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในพื้นที่ได้ร่วมกันนำเสนอผลการขับเคลื่อนงานตามโครงการเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยการนำเสนอด้วยวีดิทัศน์ และแบบ Live สด เพื่อให้คณะกรรมการได้ดูงานในพื้นที่บ้านเปือยน้อย จำนวน 4 จุด ดังนี้
จุดที่ 1 จุดนำเสนอข้อมูลหมู่บ้านโดยผู้นำชุมชนในบ้านเปือยน้อย ตำบลเปือยน้อย
จุดที่ 2 นำเสนอโดยวีธีการ Live สด “ตู้กับข้าวยาวเป็นกิโล” หรือถนนกินได้ (เป็นการใช้ที่ว่างสร้างอาหาร โดยเป็นริมขอบถนน บริเวณหนองน้ำสาธารณะ มีการปลูกพืชผักสวนครัว ได้แก่ ถั่วฝักยาว สลัด ผักกาด ผักบุ้ง กุ้ยช่ายขาว เป็นต้น จุดนี้ ให้ครัวเรือนรับผิดชอบดูแลบริเวณจุดหน้าบ้านของตน และเมื่อมีผลผลิต ชาวบ้านในหมู่บ้านสามารถนำไปประกอบอาหารได้ทุกครัวเรือน
จุดที่ 3 นำเสนอโดยวีธีการ Live สด เป็นครัวต้นแบบ และศูนย์ขยายเมล็ดพันธ์ ครัวเรือนมีการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากมีการปลูกผัก และเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา สำหรับบริโภค เลี้ยงไส้เดือน สำหรับทำปุ๋ยอินทรีย์ และมีการจัดการขยะที่สามารถนำไปเป็นปุ๋ยหมักได้
จุดที่ 4 นำเสนอโดยวีธีการ Live สด เป็นครัวเรือนต้นแบบ (มีการปลูกผักสวนครัวมากกว่า 10 ชนิด) ครัวเรือนมีการแบ่งปันกล้าพันธุ์ผักสำหรับคนในหมู่บ้านได้


จากการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการพัฒนา เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ภายใต้ภาวะวิกฤตเช่นนี้ มีสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้น ภายในชุมชน ได้แก่

  1. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
  2. ความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน
  3. ชุมชนมีความสามารถในการบริหารจัดการตนเองได้ เกิดความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
  4. เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
  5. ความเชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชนที่มีต่อภาครัฐ ที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูล 🖍ทั้งนี้ นายจำเริญ แหวนเพ็ชร พัฒนาการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของกรมการพัฒนาชุมชน เป็นโครงการที่ดีมากเพราะสามารถตอบโจทย์ และเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องอาหารของพี่น้องประชาชนในภาวะวิกฤติ เช่นนี้ ได้ดี ซึ่งบ้านเปือยน้อย และอีกหลายๆหมู่บ้าน ในตำบลเปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น เป็นหมู่บ้านที่มีการขานรับนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน ได้เป็นอย่างดี หมู่บ้านมีการปรับตัวภายใต้สภาวะการณ์ การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้คนในหมู่บ้านสามารถพึ่งพาตนเองได้ เนื่องจากได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต รู้จักปรับตัว โดยการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารทุกครัวเรือน และผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชนยังรู้จักใช้ที่ว่างบริเวณริมถนนไปปลูกผักสวนครัวเพื่อเป็นคลังอาหาร สำหรับคนในหมู่บ้านและยังมีปริมาณมากพอที่จะดูแลคนได้ทั้งตำบล นอกจากนี้ ยังมีการขยายผลไปยังตำบลอื่นๆในอำเภอ อีกด้วย ทั้งนี้ อำเภอเปือยน้อย ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 อย่างเคร่งครัด อาทิ การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การเว้นระยะห่างตามมาตรการควบคุมการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายในท้องที่จังหวัดขอนแก่น
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าวมวลชนไทยนิวส์ข่าวออนไลน์-0628929797 DNk79R.jpg Phh9Db.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png